วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หญ้าหวาน ใช้แทนน้ำตาลได้


สรรพคุณ....หญ้าหวาน หญ้าหวานเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจที่จะนำมาศึกษาถึงการใช้ประโยชน์จากพืชชนิดนี้ให้มากขึ้นเนื่องด้วย ลักษณะพิเศษคือ มีสารที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 100-300 เท่าแต่ในความหวานที่มากมายนี้กลับไม่ก่อให้เกิดพลังงาน ยิ่งถือว่าเป็นความพิเศษที่มีอยู่ในพืชชนิดนี้ซึ่งเกิดจากการสร้างสรรค์ของธรรมชาติที่เราควรที่จะต้องศึกษาและนำมาใช้ให้เกิด ประโยชน์ต่อไป ชื่อภาษาไทย : หญ้าหวาน ชื่อท้องถิ่น : - ชื่อสามัญ : Stevia ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stevia rebaudiana Bertoni. ลักษณะทางพฤษศาสตร์ หญ้าหวานเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูงประมาณ 30-90 ซม. ลักษณะทั่วๆ ไปคล้ายต้นโหระพา ใบเดี่ยวรูปหอกปลาย แหลมกว้าง 10-15 มม. ยาว 30-40 มม. ก้านสั้นขอบใบมีลักษณะคล้ายฟันเลื่อย ลำต้นแข็ง กลมและเล็กเรียวเป็นไม้พุ่มขนาด เล็ก อายุประมาณ 3 ปี ประเทศไทยปลูกได้ดีช่วงปลายฝนต้นหนาวในที่ดอน เช่น ภาคเหนือสูง 400-1,200ม. เหนือระดับน้ำทะเล แหล่งที่พบ หญ้าหวานเป็นพืชซึ่งพบในแถบอเมริกาใต้และยังเป็นพืชพื้นเมืองของบราซิล มีการค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาว อเมริกาใต้ เมื่อปี 1887 คือ 113 ปีมาแล้ว โดยมีชาวพื้นเมืองปารากวัยใช้สารหวานนี้ผสมกับชากินมากว่า 1500 ปีต่อมาชาว ญี่ปุ่นนำมาใช้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ปี 1982 คือ 27 ปีมาแล้ว ในประเทศไทยสามารถพบได้ในแถบภาคเหนือโดยเฉพาะจังหวัด เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ ซึ่งมีการปลูกหญ้าหวานกันมาก การใช้ประโยชน์ 1. การใช้ประโยชน์ทางด้านยา - ใช้เป็นสารให้ความหวานในกลุ่มของผู้ป่วย โรคเบาหวาน และไขมันในเส้นเลือดสูง ทดแทนการบริโภคน้ำตาล 2. การใช้ประโยชน์ทางด้านอาหาร - ใช้ดื่มโดยการชงดื่มแบบชามากกว่าการผสมในเครื่องดื่มชนิดอื่น หรือการผสมในอาหาร ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ หญ้าหวานเป็นพืชที่มีความหวานมากกว่าน้ำตาล 10-15 เท่า สารสกัดจากหญ้าหวาน คือ Stevioside มีความหวานกว่า น้ำตาล 100-300 เท่า แต่ไม่ถูกย่อยให้เกิดพลังงาน นักวิชาการจึงสนใจประเด็นสารสกัดสตีวิโอไซด์ว่ามีพิษหรือไม่ และควรกินเท่า ใดจึงปลอดภัย ซึ่งได้คำตอบว่า สตีวิโอไซด์ ปลอดภัยในทุกกรณี และค่าสูงสุดกินได้ถึง 7.938 มก/น้ำหนักตัว 1 กก. ซึ่งกินได้สูงมาก ในความเป็นจริง มีผู้บริโภคได้ทั่วไป แค่ 2 มก./ น้ำหนักตัว 1 กก. ก็หวานมากแล้วดังนั้นจึง เป็นเครื่องยืนยันว่า การบริโภคหญ้า- หวานในรูปสตีวิโอไซด์ มีความปลอดภัยสูง นอกจากนี้ ยังได้มีการวิจัยหญ้าหวานในรูปแบบสมุนไพรกับอาสาสมัครแล้วพบว่า ปลอดภัยคือใช้หญ้าหวานประมาณ 1-2 ใบต่อเครื่องดื่ม1 ถ้วยหรือสูงสุดกินได้ถึง 7.9 กรัม / วัน ซึ่งสูงมากเปรียบได้กับกินผสมกา- แฟหรือเครื่องดื่มถึง 73 ถ้วย / วัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้สำหรับคนเราส่วนใหญ่กิน 2-3 ถ้วย/วันเท่านั้น ผลิตภัณฑ์ของเขาค้อทะเลภู ชาสมุนไพรหญ้าหวาน , ชาทะเลภู 1 พลังสีเหลือง , ชาทะเลภู 2 พลังสีชมพู , ชาทะเลภู 3 พลังสีน้ำตาล , ชาทะเลภู 5 พลังสีเขียว ,ชาทะเลภู 6 พลังสีแดง , ชาทะเลภู 7 พลังสีม่วง , สมุนไพรอบแห้งต่างๆ และน้ำสมุนไพรเสตอริไรซ์ กระชายดำ น้ำผึ้ง เป็นต้น เอกสารอ้างอิง http://www.phoomtai.com/Story005.htm

แก่นตะวัน กำลังแรง

อ่านรายละเอียดต่อที่นี่
อ่านรายละเอียดต่อได้ที่นี่

วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ต้น ครอบจักรวาล


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Abutilon indicum (L.) Sweet
ชื่อสามัญ : Country mallow, Indian mallow
วงศ์ : Malvaceae
ชื่ออื่น : ครอบ ครอบจักรวาฬ ตอบแตบ บอบแปบ มะก่องเข้า (พายัพ) ก่อนเข้า (เชียงใหม่) โผงผาง (โคราช ) ครอบตลับ หญ้าขัดหลวง หญ้าขัดใบป้อม ขัดมอนหลวง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นสูงไม่เกิน 5 ฟุต และจะเป็นขนสีขาวนวล ใบจะกลมและโตประมาณ 7 ซม. ใบค่อนข้างหนาจะมีขนสีขาวนวล ดอกจะโตประมาณ 2-3 ซม. เป็นดอกสีเหลือง ผลนั้นจะมีลักษณะกลมเป็นกลีบๆ คล้ายฟันสีที่ใช้สีข้าวแต่ชนิดนี้ผลจะเป็นรูปตูมๆ ไม่บานอ้า เหมือนชนิดอื่น
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ราก และเมล็ด เก็บในฤดูร้อนและฤดูหนาว ตัดทั้งต้น ล้างสะอาด ตากแห้งเก็บไว้ใช้

สรรพคุณ :
ทั้งต้น - รสชุ่ม สุขุม ไม่มีพิษ ใช้แก้ร้อน ชื้น ฟอกเลือด แก้ท้องร่วง หูอื้อ หูหนวก แผลบวมเป็นหนอง โรคเรื้อน ปัสสาวะขัด เจ็บ ขุ่น คางทูม ขับลม เลือดร้อน
ราก - รสจืด ชุ่ม เย็น ใช้แก้ร้อน ชื้น ฟอกเลือด แก้ไอ หูหนวก หูชั้นกลางอักเสบ เหงือกอักเสบ คอตีบ ปวดท้อง ท้องร่วง ริดสีดวงทวาร ขับปัสสาวะ
เมล็ด - ใช้แก้บิดมูกเลือด ฝีฝักบัว
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ทั้งต้นแห้ง 30- 60 กรัม ต้มน้ำดื่มหรือตุ๋นกับเนื้อไก่รับประทาน ใช้ภายนอก ตำพอก
รากแห้ง 10- 15 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ตำพอก หรือต้มน้ำชะล้าง
เมล็ดแห้ง 3.2 กรัม บดเป็นผงรับประทาน วันละ 3 ครั้ง
ตำรับยา :
แก้ผื่นคัน เนื่องจาการแพ้
ใช้ทั้งต้นแห้ง 30 กรัม ผสมกับเนื้อหมู (ไม่เอามัน) พอประมาณ ตุ๋นน้ำรับประทาน
แก้ริดสีดวงทวาร
ใช้ราก 150 กรัม ต้มเอาน้ำข้นๆ ดื่มประมาณ 1 ถ้วยชา ที่เหลืออุ่นเอาไอรมที่ก้นพออุ่นๆ ทนได้ ใช้รมวันละ 5-6 ครั้ง เอาน้ำอุ่นๆ ชะล้างแผล
แก้หกล้ม เป็นบาดแผลหรือร่างกายอ่อนแอ ไม่มีกำลัง
ใช้รากแห้ง 60 กรัม ต้มกับขาหมู 2 ขา ผสมกับเหล้าเหลือง 60 กรัม ต้มน้ำรับประทาน
แก้ข้อมือข้อเท้าอักเสบ หรือแผลอักเสบที่ทำให้กล้ามเนื้อลีบ
ใช้รากแห้ง 30 กรัม ผสมน้ำ และเหล้าอย่างละเท่าๆ กัน ตุ๋นรับประทาน
แก้คอตีบ
ใช้รากสด 30 กรัม ต้มน้ำดื่ม หรืออาจะเพิ่มรากหญ้าพันงู ( Achyranthes aspera L. A. Bidentata BL., A.longiforia Mak. ) สด กับรากว่านหางช้าง ( Belamcanda. Chinensis DC. ) สด พอสมควร ตำคั้นเอาน้ำมามาผสมกับปัสสาวะให้เด็กรับประทาน
แก้หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง
ใช้รากแห้ง 15- 30 กรัม ข้าวเหนียว 1 ถ้วย หรือเนื้อหมูไม่ติดมัน หรือเต้าหู้แทนก็ได้ ในปริมาณสมควร ต้มน้ำรับประทาน
ใช้แก้รากฟันเน่าเป็นหนอง
ใช้รากแห้ง 15 กรัม ผสมน้ำตาลแดงพอสมควร ต้มน้ำดื่มหรือใช้รากแห้ง แช่น้ำส้มสายชู 1 ชั่วโมง แล้วเอาผ้าห่ออมไว้ในปากบ่อยๆ
แก้บิดมูกเลือด
ใช้เมล็ดคั่วให้เกรียม บดเป็นผง รับประทานพร้อมกับน้ำผึ้ง ครั้งละ 3.2 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
แก้ฝีฝักบัว
ใช้เมล็ด 1 ช่อ บดเป็นผงชงน้ำสุกอุ่นๆ รับประทานแล้วเอาใบสดตำผสมน้ำผึ้ง หรือน้ำตาลแดง พอกที่แผล


สารเคมี : ทั้งต้น มี Flavonoid glycoside, Phenols, Amino acids, น้ำตาล (พวก Flavonoid glycoside มี Gossypin, Gossypitrin, Cyanidin-3-rutinoside)
ใบ มี Mucilage, Tannins, Organic acid, Traces of asparagin และเถ้าที่ประกอบด้วย Alkaline sulphates, Chlorides, magnesium phosphate และ Calcium carbonate
ราก มี Asparagin
เมล็ด มีไขมันประมาณ 5% fatty acid ซึ่งมี Oleic acid 41.3% Linoleic acid 26.67% Linolenic acid 6.8% Stearic acid 11.17% Palmitic acid 5.08% Non-saponified matter ประมาณ 1.77% (ซึ่งเป็นพวก Sitosterol)
กากเมล็ด ประกอบด้วย Raffinose (C18 H32 O16)

แหล่งที่มาของข้อมูลเนื้อหา
เมล็ดพันธุ์




เรื่องใดน่าสนใจ สาวคนนี้ ต้อง พาไปดู


แหล่งอ้างอิง1
อย่าลืมนะครับ หากคุณๆ มีความสนใจ ในสมุนไพรใบว่านยา เหมือนกับเรา เรามีพื้นที่ตรงนี้ ให้คุณนำรูป และ สรรพคุณ มาแสดงได้ หรือให้แม้กระทั่ง โฆษณา ขายยาสมุนไพรดีๆ ลงให้ฟรีครับ ตอบโพสต์ไว้ในกล่องด้านล่างนี้ได้เลยครับ....