วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ลูกยอ ดีมาก


ภ.ญ.สุภาภรณ์ ปิติพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ยอ ผลไม้ที่คุณยายเคยหยิบจากไหเกลือมาจิ้มน้ำผึ้งกินนั้น ปัจจุบันกำลังเป็นที่ฮือฮากันทั่วบ้านทั่วเมือง เนื่องจากว่าฝรั่งมังค่ากำลังตื่นเต้นกับสรรพคุณของเจ้าสมุนไพรชนิดนี้ ยอ เป็นต้นไม้ขนาดกลาง ใบเขียวเป็นมันเหมือนใบหูกวาง ยอเป็นต้นไม้ที่คนโบราณทุกบ้านปลูกไว้เป็นเคล็ด เพื่อที่จะได้รับการสรรเสริญเยินยอ มีคำพังเพยเกี่ยวกับยอมากมายเช่น “สรรเสริญเยินยอ” ยกยอปอปั้น” “เยินยอห่อหมก” ยอยศสรรเสริญ” นับว่าเป็นความฉลาดของคนสมัยก่อนอย่างยิ่งในการหากลอุบายให้คนปลูกต้นยอไว้กับบ้าน เพราะว่ายอเป็นสมุนไพรที่มีคุณค่ามากมาย ทั้งในแง่ของการใช้เป็นอาหาร เป็นยาเป็นสีย้อมผ้าไหม และผ้าฝ้ายชั้นยอด เปลือก ราก เนื้อไม้ ใบ ของยอให้สีเหลืองแกมแดงที่ติดคงทน ในเชิงวัฒนธรรม ยังมีการใช้ใบยอรองก้นหลุมเสาเอกและเสาโทเวลาปลูกบ้าน ใช้ใบยอรองขันพิธีบานศรีสู่ขวัญในงานมงคลต่าง ๆ เป็นต้น ใบยอจะใช้รองก้นกระทงห่อหมก ห่อหมกใบยอเป็นอาหารที่ช่างผสมกลมกลืนกลมกล่อมและเข้มข้น แม้เราจะใส่ผักชนิดอื่นลงไปแทนก็จะไม่ลงตัวหรือทดแทนความอร่อยได้ ตอนเด็ก ๆ จำได้ว่าเวลาทำห่อหมก ยายจะสั่งให้คนปลาช่อนตัวโต ๆ กับเครื่องแกงและกะทิ ต้องคนจนเข้าเนื้อจริง ๆ ให้ข้นเหนียวเป็นเนื้อเดียวกัน ในตอนนั้นคิดแต่ว่าทำไมพวกผู้ใหญ่ถึงชอบกินอะไรยาก ๆ ดีแท้แต่พอห่อหมกถูกนึ่งเสร็จสรรพเรียบร้อย กลิ่นจะหอมกรุ่นชวนกิน กลิ่นใบยอจะฟุ้งไปกับกลิ่นเครื่องแกง ในเวลาอีกไม่นานนัก ยายจะมีห่อหมกพุงปลาที่ใส่กระทงเฉพาะเป็นรางวัลสำหรับหลานตัวจ้อยที่คนเครื่องแกง จนเจ้าตัวอดคิดไม่ได้ว่าแขนมันน่าจะโตขึ้นเป็นสิบเท่าแล้วกระมัง เดี๋ยวนี้ถ้าใครช่างสังเกตหน่อยจะพบว่าเราจะหากินหาซื้อห่อหมกใบยอได้ยากขึ้นทุกที ใบยอ นับเป็นอาหารสมุนไพรที่เพียงไปด้วยคุณค่าจริง ๆ ใน 100 มิลลิกรัม มีวิตามินซี 76 มิลลิกรัม มากกว่ามะนาวถึงสองเท่า แคลเซี่ยม 350 มิลลิกรัม มากกว่านมสามเท่า นอกจากนั้นยังมี วิตามินเอ เหล็กและฟอสฟอรัสในปริมาณสูง ใบยอจึงเป็นผักที่ควรส่งเสริมให้มีการบริโภคอย่างยิ่ง เพื่อเป็นแหล่งแคลเซี่ยมในสตรีวัยหมดประจำเดือนเป็นแหล่งวิตามินซี ที่เพิ่มภูมิคุ้มกัน เพื่อการต้านมะเร็ง เป็นแหล่งวิตามินเอป้องกันการตาบอดในเด็กและยังเป็นแหล่งฟอสฟอรัสและเหล็กที่ดีได้อีกด้วย โดยทั่วไปไม่นิยมกินใบยอสด ๆ นอกจากจะใช้นึ่งโดยรองก้นห่อหมกรับประทาน ส่วนใบอ่อน นิยมลวกให้สุกรับประทานเป็นผักจิ้มหรือจะหั่นเป็นฝอย ๆ แกงเผ็ด แกงอ่อมจะมีรสขมอ่อน ๆ ครั้งหนึ่งใบยอจึงถูกจัดให้เป็นผักคู่ครัวคนไทยก็ว่าได้ ในแง่ประโยชน์ทางยาการรับประทานใบยอจะช่วยในการย่อยอาหาร บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ อาหารไม่ย่อย มีบางท่านนำใบยอที่ไม่แก่ไม่อ่อนจนเกินไปหั่นตากแดดบดเป็นผงละลายน้ำร้อนดื่มครั้งละสองช้อนกาแฟหรือผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนกินครั้งละสองเม็ด ส่วนผลของยอหรือลูกยอใช้เป็นได้ทั้งอาหารและยาเช่นกัน ผลยอเป็นผักที่มีวิตามินซีสูง ใกล้เคียงกับมะขามป้อมคือ 208 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม ผลอ่อนของยอใช้แกงส้ม แกงเลียง ส่วนผลแก่ใกล้สุกทางอิสานนิยมนำมาทำส้มตำแทนมะละกอ ผลของยอมีรสเผ็ดร้อนช่วยขับลมในลำไส้ แก้คลื่นเหียนอาเจียนช่วยย่อยอาหาร บำรุงธาตุไฟได้ดีนัก จึงนิยมใช้ทำยารักษาโรคท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ทั้งผลดิบผลสุก จะนิยมฝานผลแก่จัดเป็นแว่น ๆ ตากแดดให้แห้ง บดเป็นผงให้ละเอียดละลายน้ำร้อนกินครั้งละ 2 ช้อนชา หรือผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนรับประทานครั้ง 1-2 เม็ด การใช้ผลลูกยอจะมีสรรพคุณที่แรงกว่าใช้ใบกินแล้วผายลมสบายท้องดีจริง ๆ แต่ไม่ยักกะมีใครหัวใสทำขาย ผลสุกของยอก็เป็นยาชั้นยอด ในการขับลมและช่วยย่อย คุณยายที่บ้านชอบเก็บลูกยอมาบ่มในไหเกลือ โดยฝังเข้าไปในเกลือ สักวันสองวันลูกยอจะสุกแล้จะเอาจิ้มเกลือกิน บางท่านนิยมจิ้มน้ำผึ้งกิน ยายบอกว่ายอเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยบำรุงธาตุแก้ท้องอืดช่วยระบายท้อง ยายจะกินลูกยอทั้งเม็ด และยังกำชับว่าผู้หญิงควรกินลูกยอสุกหรือลูกยอที่แก่จัด เพื่อบำรุงเลือดลม ขับเลือดเสียไม่ให้มีเลือดคั่งค้าง คนโบราณเชื่อว่าถ้าเลือดร้ายออกไปผิวพรรณจะสดใสเปล่งปลั่ง ไม่เป็นสิวฝ้า อารมณ์ดี ลูกยอสุกกินยากมาก เพราะกลิ่นจะฉุน ๆ แต่เมื่อกินบ่อย ๆ ก็จะชินไปเอง ส่วนสตรีท่านใดอยากมีผิวหน้าสดใสแต่ทนกลิ่นลูกยอไม่ได้ก็อาจจะฝานลูกยอที่แก่จัดแล้วตากแห้งบดเป็นผงชงน้ำหรือทำเป็นลูกกลอนหรือบรรจุใส่แคปซูล รับประทานก็ได้ ยอจึงเป็นสมุนไพรที่เป็นยาอายุวัฒนะของสังคมไทย เพราะนอกจากจะมีคุณค่าทางอาหารสูงทั้งในใบและผล ยังเป็นยาช่วยย่อย บำรุงธาตุไฟ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ อันเป็นปัจจัยแรกที่จะทำให้ร่างกายเป็นปกติ ไม่เสียสมดุล ทั้งยังช่วยขับประจำเดือนฟอกเลือดสตรีให้งาม ผิวพรรณเปล่งปลั่งรักษาอาการประจำเดือนไม่ปกติได้อีกด้วย พอนึกย้อนถึงการใช้ยอในสมัยก่อน แล้วอดทึ่งกับสิ่งที่เคยรับรู้จากยายไม่ได้ ได้รู้ว่าผู้หญิงที่เลือดลมไม่ดีนั้น ก็ควรที่จะกินยอ มีท่านสุภาพสตรีได้ทดลองรับประทาน พบว่าการกินยอติดต่อกันในเดือนแรกนั้นจะสังเกตเห็นประจำเดือนมามากกว่าปกติ เดือนต่อๆ ไปก็จะเป็นปกติเอง อารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวในช่วงมีประจำเดือนก็จะหายไปเป็นปลิดทิ้ง ผิวพรรณผ่องใสขึ้นทันตา ตำราโบราณของหมอยาไทยดั้งเดิมก็ยืนยันไว้เช่นนี้ นอกจากนี้คนสมัยก่อนจะกินยอเพื่อแก้ท้องอืดอาหารไม่ย่อย เพราะยอเป็นกลุ่มยาร้อน ซึ่งความเป็นยาร้อนนี้มีตำราโบราณบอกไว้ว่าแก้มือเท้าตาย ยอจึงเหมาะกับคนที่เป็นอัมพฤกษ์อัมพาต และยังมีการใช้ยอในโรคหวัด ทั้งนี้อาจจะเกิดจากความเป็นยาร้อนจึงสามารถรักษาโรคที่เกิดจากความเย็นเช่นหวัดได้หรืออาจเกิดจากการที่ยอมีฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกันตามที่ฝรั่งเขาว่า ๆกันก็เป็นได้ แต่ต้องระวังในคนท้องแรก ๆ ไม่ควรกินยอมากเกินไปนัก (ยาร้อนทุกชนิดไม่เหมาะกับคนท้องไม่ว่าจะเป็นพริกไทย กระเทียม ดีปลี สมัยก่อนเขาเอาดองเหล้าเพื่อทำแท้ง) ส่วนรายงานการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของยอนั้น มีการทดลอง โดยนำเซลล์มะเร็งมาฝังไว้ในหน้าท้องหนู แล้วแบ่งหนูเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้กินยอผสมในอาหาร อีกกลุ่มหนึ่งไม่ให้พบว่าหนูที่ได้รับยอเป็นอาหารมีอายุยืนยาวกว่าหนูที่ไม่ได้รับถึง 105-123% มีการทดลองยืนยันหลายครั้ง สรุปว่าหนูที่ได้รับยอเป็นอาหารมีอายุยืนยาวกว่าหนูที่ไม่ได้รับถึง 119% และมีการทดลองที่ยืนยันว่ายอมีสารยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งขั้นต้นได้ ยอยังมีประโยชน์ทางยา คือช่วยทำให้ความดันโลหิตสูงลดลง โดยมีสารที่ชื่อ Scopoletin ซึ่งเป็นตัวขยายหลอดเลือดในร่างกาย ช่วยให้หัวใจไม่ต้องทำงานหนักขึ้น เนื่องจากการตีบของเส้นเลือด และพบว่ายอไม่มีผลทำให้ผู้ป่วยที่มีความดันปกติมีความดันลดต่ำลงแต่อย่างใด นอกจากนั้นสาร Scopoletin ตัวนี้ยังช่วยต้านการอักเสบที่ทำให้เกิดอาการปวดตามข้อ ช่วยให้อาการอักเสบดีขึ้น มีฤทธิ์ต้านฮีสตามีน มีฤทธิ์รักษาโรคภูมิแพ้ ยอช่วยควบคุมการทำงานของเซลล์ในร่างกายให้เป็นปกติ และสร้างเซลล์ใหม่เพื่อทดแทนเซลล์ที่เสื่อมแล้ว โดยยอจะมีสารชื่อ Xeronine ซึ่งสารนี้จะพบเฉพาะในเซลล์ที่ปกติ เซลล์ที่แข็งแรงของทั้งเซลล์พืช เซลล์สัตว์ และไม่พบสารนี้ในเซลล์ที่กำลังจะตายหรือเสื่อมสภาพ กล่าวคือ สารนี้ทำให้เซลล์แข็งแรง และมีความเป็นปกติสุข เรียกว่าสารที่ทำให้อายุยืนว่างั้นเถอะ นอกจากนั้นยังมีการศึกษาพบอีกว่ายอทำให้การทำงานของต่อมชนิดหนึ่งในสมองดีขึ้นต่อมนี้จะผลิตสารชื่อ Serotonin สารนี้จะเป็นตัวผลิตฮอร์โมน Melatonin ซึ่งสารนี้จะช่วยให้การนอนหลับเป็นปกติ ช่วยให้อุณหภูมิ อารมณ์มีความสมดุล รวมทั้งยังเชื่อว่ายอทำให้น้ำตาลในเลือดมีความคงที่ จึงช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดของสตรีก่อนมีประจำเดือนและช่วยลดการปัสสาวะในเวลากลางคืนเนื่องจากการบวมของต่อมลูกหมาด เรื่องของการเป็นยาลดความดัน คนไทยโบราณแนะนำว่าถ้าปวดหัวก็ให้กินยอ ซึ่งอาจจะเกิดจากอาการปวดหัวที่เกิดจากความดันโลหิตสูง หรือปวดหัวไมเกรน ยอก็แก้ได้ ในเรื่องของการให้แก้ปวดข้อก็เช่นกันคนโบราณเชื่อว่ายอทำให้เลือดลมเดิน สามารถแก้ปวดข้อ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกายได้ จะเห็นว่าความรู้ในการใช้ยอของปู่ย่าตายายของเรานั้น ได้สั่งสมกันมาอย่างยาวนานทุกบ้านในชนบทสมัยก่อนยอแทบจะเป็นของคู่บ้าน ลูกยอจะถูกเก็บไว้ในไหเกลือ คนไทยยังพอได้สืบค้น เคยเห็น เคยกินกันมาบ้าง การจะฟื้นฟูการกินยอในสังคมไทยจึงเป็นเรื่องที่ไม่ยากนัก วิธีกินแบบชาวบ้านก็ง่าย ๆ ให้เอาลูกยอที่แก่จัดจนเปลี่ยนเป็นสีขาวแล้ว แต่ยังไม่งอมมาหมักในขวดเกลือ (เอาลูกยอฝังเข้าไปในเกลือ) หมักไว้ 1-2 วัน ลูกยอจะสุกงอมเอามาจิ้มเกลือ น้ำตาล หรือน้ำผึ้ง กินทั้งเนื้อทั้งเม็ดวันละ 1 ลูก หรือจะเอาลูกยอดิบแก่ที่เม็ดข้างในแข็งแล้ว มาฝานเป็นชิ้นบาง ๆ จิ้มเกลือกิน ถ้าให้แซ่บกว่านี้ก็เอาเนื้อลูกยอมาตำทำแบบส้มตำก็ได้ หากใครกลัวทนกลิ่นลูกยอไม่ไหว รู้สึกสะท้อนใจทุกครั้งที่เห็นคนไทยหลายพันคนซื้อน้ำโนนิจากต่างชาติ ทั้ง ๆ ที่มีการศึกษาว่ายอไทยนั้นมีสาร Scopoletin มากกว่าที่วางขายกันในตลาดโลกถึง 2 เท่า หันมากินลูกยอ โนนิแบบไทย ๆ กันเถอะ วิถีไทย ปลูกเองใช้เอง ธรรมชาติให้ ฟ้า ดิน น้ำ ที่มีแห่งเดียวในโลกคือประเทศไทย ปลูกพืชอะไรก็ดีกว่าใครเขา ขอพวกเราช่วยพลิกฟื้นสืบสานภูมิปัญญาของปู่ย่าตายาย

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หญ้าหวาน ใช้แทนน้ำตาลได้


สรรพคุณ....หญ้าหวาน หญ้าหวานเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจที่จะนำมาศึกษาถึงการใช้ประโยชน์จากพืชชนิดนี้ให้มากขึ้นเนื่องด้วย ลักษณะพิเศษคือ มีสารที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 100-300 เท่าแต่ในความหวานที่มากมายนี้กลับไม่ก่อให้เกิดพลังงาน ยิ่งถือว่าเป็นความพิเศษที่มีอยู่ในพืชชนิดนี้ซึ่งเกิดจากการสร้างสรรค์ของธรรมชาติที่เราควรที่จะต้องศึกษาและนำมาใช้ให้เกิด ประโยชน์ต่อไป ชื่อภาษาไทย : หญ้าหวาน ชื่อท้องถิ่น : - ชื่อสามัญ : Stevia ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stevia rebaudiana Bertoni. ลักษณะทางพฤษศาสตร์ หญ้าหวานเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูงประมาณ 30-90 ซม. ลักษณะทั่วๆ ไปคล้ายต้นโหระพา ใบเดี่ยวรูปหอกปลาย แหลมกว้าง 10-15 มม. ยาว 30-40 มม. ก้านสั้นขอบใบมีลักษณะคล้ายฟันเลื่อย ลำต้นแข็ง กลมและเล็กเรียวเป็นไม้พุ่มขนาด เล็ก อายุประมาณ 3 ปี ประเทศไทยปลูกได้ดีช่วงปลายฝนต้นหนาวในที่ดอน เช่น ภาคเหนือสูง 400-1,200ม. เหนือระดับน้ำทะเล แหล่งที่พบ หญ้าหวานเป็นพืชซึ่งพบในแถบอเมริกาใต้และยังเป็นพืชพื้นเมืองของบราซิล มีการค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาว อเมริกาใต้ เมื่อปี 1887 คือ 113 ปีมาแล้ว โดยมีชาวพื้นเมืองปารากวัยใช้สารหวานนี้ผสมกับชากินมากว่า 1500 ปีต่อมาชาว ญี่ปุ่นนำมาใช้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ปี 1982 คือ 27 ปีมาแล้ว ในประเทศไทยสามารถพบได้ในแถบภาคเหนือโดยเฉพาะจังหวัด เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ ซึ่งมีการปลูกหญ้าหวานกันมาก การใช้ประโยชน์ 1. การใช้ประโยชน์ทางด้านยา - ใช้เป็นสารให้ความหวานในกลุ่มของผู้ป่วย โรคเบาหวาน และไขมันในเส้นเลือดสูง ทดแทนการบริโภคน้ำตาล 2. การใช้ประโยชน์ทางด้านอาหาร - ใช้ดื่มโดยการชงดื่มแบบชามากกว่าการผสมในเครื่องดื่มชนิดอื่น หรือการผสมในอาหาร ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ หญ้าหวานเป็นพืชที่มีความหวานมากกว่าน้ำตาล 10-15 เท่า สารสกัดจากหญ้าหวาน คือ Stevioside มีความหวานกว่า น้ำตาล 100-300 เท่า แต่ไม่ถูกย่อยให้เกิดพลังงาน นักวิชาการจึงสนใจประเด็นสารสกัดสตีวิโอไซด์ว่ามีพิษหรือไม่ และควรกินเท่า ใดจึงปลอดภัย ซึ่งได้คำตอบว่า สตีวิโอไซด์ ปลอดภัยในทุกกรณี และค่าสูงสุดกินได้ถึง 7.938 มก/น้ำหนักตัว 1 กก. ซึ่งกินได้สูงมาก ในความเป็นจริง มีผู้บริโภคได้ทั่วไป แค่ 2 มก./ น้ำหนักตัว 1 กก. ก็หวานมากแล้วดังนั้นจึง เป็นเครื่องยืนยันว่า การบริโภคหญ้า- หวานในรูปสตีวิโอไซด์ มีความปลอดภัยสูง นอกจากนี้ ยังได้มีการวิจัยหญ้าหวานในรูปแบบสมุนไพรกับอาสาสมัครแล้วพบว่า ปลอดภัยคือใช้หญ้าหวานประมาณ 1-2 ใบต่อเครื่องดื่ม1 ถ้วยหรือสูงสุดกินได้ถึง 7.9 กรัม / วัน ซึ่งสูงมากเปรียบได้กับกินผสมกา- แฟหรือเครื่องดื่มถึง 73 ถ้วย / วัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้สำหรับคนเราส่วนใหญ่กิน 2-3 ถ้วย/วันเท่านั้น ผลิตภัณฑ์ของเขาค้อทะเลภู ชาสมุนไพรหญ้าหวาน , ชาทะเลภู 1 พลังสีเหลือง , ชาทะเลภู 2 พลังสีชมพู , ชาทะเลภู 3 พลังสีน้ำตาล , ชาทะเลภู 5 พลังสีเขียว ,ชาทะเลภู 6 พลังสีแดง , ชาทะเลภู 7 พลังสีม่วง , สมุนไพรอบแห้งต่างๆ และน้ำสมุนไพรเสตอริไรซ์ กระชายดำ น้ำผึ้ง เป็นต้น เอกสารอ้างอิง http://www.phoomtai.com/Story005.htm

แก่นตะวัน กำลังแรง

อ่านรายละเอียดต่อที่นี่
อ่านรายละเอียดต่อได้ที่นี่

วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ต้น ครอบจักรวาล


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Abutilon indicum (L.) Sweet
ชื่อสามัญ : Country mallow, Indian mallow
วงศ์ : Malvaceae
ชื่ออื่น : ครอบ ครอบจักรวาฬ ตอบแตบ บอบแปบ มะก่องเข้า (พายัพ) ก่อนเข้า (เชียงใหม่) โผงผาง (โคราช ) ครอบตลับ หญ้าขัดหลวง หญ้าขัดใบป้อม ขัดมอนหลวง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นสูงไม่เกิน 5 ฟุต และจะเป็นขนสีขาวนวล ใบจะกลมและโตประมาณ 7 ซม. ใบค่อนข้างหนาจะมีขนสีขาวนวล ดอกจะโตประมาณ 2-3 ซม. เป็นดอกสีเหลือง ผลนั้นจะมีลักษณะกลมเป็นกลีบๆ คล้ายฟันสีที่ใช้สีข้าวแต่ชนิดนี้ผลจะเป็นรูปตูมๆ ไม่บานอ้า เหมือนชนิดอื่น
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ราก และเมล็ด เก็บในฤดูร้อนและฤดูหนาว ตัดทั้งต้น ล้างสะอาด ตากแห้งเก็บไว้ใช้

สรรพคุณ :
ทั้งต้น - รสชุ่ม สุขุม ไม่มีพิษ ใช้แก้ร้อน ชื้น ฟอกเลือด แก้ท้องร่วง หูอื้อ หูหนวก แผลบวมเป็นหนอง โรคเรื้อน ปัสสาวะขัด เจ็บ ขุ่น คางทูม ขับลม เลือดร้อน
ราก - รสจืด ชุ่ม เย็น ใช้แก้ร้อน ชื้น ฟอกเลือด แก้ไอ หูหนวก หูชั้นกลางอักเสบ เหงือกอักเสบ คอตีบ ปวดท้อง ท้องร่วง ริดสีดวงทวาร ขับปัสสาวะ
เมล็ด - ใช้แก้บิดมูกเลือด ฝีฝักบัว
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ทั้งต้นแห้ง 30- 60 กรัม ต้มน้ำดื่มหรือตุ๋นกับเนื้อไก่รับประทาน ใช้ภายนอก ตำพอก
รากแห้ง 10- 15 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ตำพอก หรือต้มน้ำชะล้าง
เมล็ดแห้ง 3.2 กรัม บดเป็นผงรับประทาน วันละ 3 ครั้ง
ตำรับยา :
แก้ผื่นคัน เนื่องจาการแพ้
ใช้ทั้งต้นแห้ง 30 กรัม ผสมกับเนื้อหมู (ไม่เอามัน) พอประมาณ ตุ๋นน้ำรับประทาน
แก้ริดสีดวงทวาร
ใช้ราก 150 กรัม ต้มเอาน้ำข้นๆ ดื่มประมาณ 1 ถ้วยชา ที่เหลืออุ่นเอาไอรมที่ก้นพออุ่นๆ ทนได้ ใช้รมวันละ 5-6 ครั้ง เอาน้ำอุ่นๆ ชะล้างแผล
แก้หกล้ม เป็นบาดแผลหรือร่างกายอ่อนแอ ไม่มีกำลัง
ใช้รากแห้ง 60 กรัม ต้มกับขาหมู 2 ขา ผสมกับเหล้าเหลือง 60 กรัม ต้มน้ำรับประทาน
แก้ข้อมือข้อเท้าอักเสบ หรือแผลอักเสบที่ทำให้กล้ามเนื้อลีบ
ใช้รากแห้ง 30 กรัม ผสมน้ำ และเหล้าอย่างละเท่าๆ กัน ตุ๋นรับประทาน
แก้คอตีบ
ใช้รากสด 30 กรัม ต้มน้ำดื่ม หรืออาจะเพิ่มรากหญ้าพันงู ( Achyranthes aspera L. A. Bidentata BL., A.longiforia Mak. ) สด กับรากว่านหางช้าง ( Belamcanda. Chinensis DC. ) สด พอสมควร ตำคั้นเอาน้ำมามาผสมกับปัสสาวะให้เด็กรับประทาน
แก้หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง
ใช้รากแห้ง 15- 30 กรัม ข้าวเหนียว 1 ถ้วย หรือเนื้อหมูไม่ติดมัน หรือเต้าหู้แทนก็ได้ ในปริมาณสมควร ต้มน้ำรับประทาน
ใช้แก้รากฟันเน่าเป็นหนอง
ใช้รากแห้ง 15 กรัม ผสมน้ำตาลแดงพอสมควร ต้มน้ำดื่มหรือใช้รากแห้ง แช่น้ำส้มสายชู 1 ชั่วโมง แล้วเอาผ้าห่ออมไว้ในปากบ่อยๆ
แก้บิดมูกเลือด
ใช้เมล็ดคั่วให้เกรียม บดเป็นผง รับประทานพร้อมกับน้ำผึ้ง ครั้งละ 3.2 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
แก้ฝีฝักบัว
ใช้เมล็ด 1 ช่อ บดเป็นผงชงน้ำสุกอุ่นๆ รับประทานแล้วเอาใบสดตำผสมน้ำผึ้ง หรือน้ำตาลแดง พอกที่แผล


สารเคมี : ทั้งต้น มี Flavonoid glycoside, Phenols, Amino acids, น้ำตาล (พวก Flavonoid glycoside มี Gossypin, Gossypitrin, Cyanidin-3-rutinoside)
ใบ มี Mucilage, Tannins, Organic acid, Traces of asparagin และเถ้าที่ประกอบด้วย Alkaline sulphates, Chlorides, magnesium phosphate และ Calcium carbonate
ราก มี Asparagin
เมล็ด มีไขมันประมาณ 5% fatty acid ซึ่งมี Oleic acid 41.3% Linoleic acid 26.67% Linolenic acid 6.8% Stearic acid 11.17% Palmitic acid 5.08% Non-saponified matter ประมาณ 1.77% (ซึ่งเป็นพวก Sitosterol)
กากเมล็ด ประกอบด้วย Raffinose (C18 H32 O16)

แหล่งที่มาของข้อมูลเนื้อหา
เมล็ดพันธุ์




เรื่องใดน่าสนใจ สาวคนนี้ ต้อง พาไปดู


แหล่งอ้างอิง1
อย่าลืมนะครับ หากคุณๆ มีความสนใจ ในสมุนไพรใบว่านยา เหมือนกับเรา เรามีพื้นที่ตรงนี้ ให้คุณนำรูป และ สรรพคุณ มาแสดงได้ หรือให้แม้กระทั่ง โฆษณา ขายยาสมุนไพรดีๆ ลงให้ฟรีครับ ตอบโพสต์ไว้ในกล่องด้านล่างนี้ได้เลยครับ....