
สรรพคุณ....หญ้าหวาน
หญ้าหวานเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจที่จะนำมาศึกษาถึงการใช้ประโยชน์จากพืชชนิดนี้ให้มากขึ้นเนื่องด้วย
ลักษณะพิเศษคือ มีสารที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 100-300 เท่าแต่ในความหวานที่มากมายนี้กลับไม่ก่อให้เกิดพลังงาน
ยิ่งถือว่าเป็นความพิเศษที่มีอยู่ในพืชชนิดนี้ซึ่งเกิดจากการสร้างสรรค์ของธรรมชาติที่เราควรที่จะต้องศึกษาและนำมาใช้ให้เกิด
ประโยชน์ต่อไป
ชื่อภาษาไทย : หญ้าหวาน
ชื่อท้องถิ่น : -
ชื่อสามัญ : Stevia
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stevia rebaudiana Bertoni.
ลักษณะทางพฤษศาสตร์
หญ้าหวานเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูงประมาณ 30-90 ซม. ลักษณะทั่วๆ ไปคล้ายต้นโหระพา ใบเดี่ยวรูปหอกปลาย
แหลมกว้าง 10-15 มม. ยาว 30-40 มม. ก้านสั้นขอบใบมีลักษณะคล้ายฟันเลื่อย ลำต้นแข็ง กลมและเล็กเรียวเป็นไม้พุ่มขนาด
เล็ก อายุประมาณ 3 ปี ประเทศไทยปลูกได้ดีช่วงปลายฝนต้นหนาวในที่ดอน เช่น ภาคเหนือสูง 400-1,200ม. เหนือระดับน้ำทะเล
แหล่งที่พบ
หญ้าหวานเป็นพืชซึ่งพบในแถบอเมริกาใต้และยังเป็นพืชพื้นเมืองของบราซิล มีการค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาว
อเมริกาใต้ เมื่อปี 1887 คือ 113 ปีมาแล้ว โดยมีชาวพื้นเมืองปารากวัยใช้สารหวานนี้ผสมกับชากินมากว่า 1500 ปีต่อมาชาว
ญี่ปุ่นนำมาใช้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ปี 1982 คือ 27 ปีมาแล้ว ในประเทศไทยสามารถพบได้ในแถบภาคเหนือโดยเฉพาะจังหวัด
เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ ซึ่งมีการปลูกหญ้าหวานกันมาก
การใช้ประโยชน์
1. การใช้ประโยชน์ทางด้านยา
- ใช้เป็นสารให้ความหวานในกลุ่มของผู้ป่วย โรคเบาหวาน และไขมันในเส้นเลือดสูง ทดแทนการบริโภคน้ำตาล
2. การใช้ประโยชน์ทางด้านอาหาร
- ใช้ดื่มโดยการชงดื่มแบบชามากกว่าการผสมในเครื่องดื่มชนิดอื่น หรือการผสมในอาหาร
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
หญ้าหวานเป็นพืชที่มีความหวานมากกว่าน้ำตาล 10-15 เท่า สารสกัดจากหญ้าหวาน คือ Stevioside มีความหวานกว่า
น้ำตาล 100-300 เท่า แต่ไม่ถูกย่อยให้เกิดพลังงาน นักวิชาการจึงสนใจประเด็นสารสกัดสตีวิโอไซด์ว่ามีพิษหรือไม่ และควรกินเท่า
ใดจึงปลอดภัย ซึ่งได้คำตอบว่า สตีวิโอไซด์ ปลอดภัยในทุกกรณี และค่าสูงสุดกินได้ถึง 7.938 มก/น้ำหนักตัว 1 กก. ซึ่งกินได้สูงมาก
ในความเป็นจริง มีผู้บริโภคได้ทั่วไป แค่ 2 มก./ น้ำหนักตัว 1 กก. ก็หวานมากแล้วดังนั้นจึง เป็นเครื่องยืนยันว่า การบริโภคหญ้า-
หวานในรูปสตีวิโอไซด์ มีความปลอดภัยสูง นอกจากนี้ ยังได้มีการวิจัยหญ้าหวานในรูปแบบสมุนไพรกับอาสาสมัครแล้วพบว่า
ปลอดภัยคือใช้หญ้าหวานประมาณ 1-2 ใบต่อเครื่องดื่ม1 ถ้วยหรือสูงสุดกินได้ถึง 7.9 กรัม / วัน ซึ่งสูงมากเปรียบได้กับกินผสมกา-
แฟหรือเครื่องดื่มถึง 73 ถ้วย / วัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้สำหรับคนเราส่วนใหญ่กิน 2-3 ถ้วย/วันเท่านั้น
ผลิตภัณฑ์ของเขาค้อทะเลภู
ชาสมุนไพรหญ้าหวาน , ชาทะเลภู 1 พลังสีเหลือง , ชาทะเลภู 2 พลังสีชมพู , ชาทะเลภู 3 พลังสีน้ำตาล , ชาทะเลภู 5
พลังสีเขียว ,ชาทะเลภู 6 พลังสีแดง , ชาทะเลภู 7 พลังสีม่วง , สมุนไพรอบแห้งต่างๆ และน้ำสมุนไพรเสตอริไรซ์ กระชายดำ
น้ำผึ้ง เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
http://www.phoomtai.com/Story005.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น